หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การเข้าเรียนครั้งที่ 9



ไม่มีการเรียนการสอน 

* เนื่องจากเป็นวัน(หยุด) เนื่องในวัยขึ้นปีใหม่ ในปี 2556 



วันศุกร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การเข้าเรียนครั้งที่ 8

ไม่มีการเรียนการสอน 

  * เนื่องจากมีการสอบปลายภาคของนักศึกษาทุกคน 


วันศุกร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 7

การเรียนการสอน

-  เช็คชื่อการเรียนการสอนตามปกติ

-  วันนี้อาจารย์ได้ขึ้นหัวข้อการพูดเรื่อง มาตราฐานคณิตศาสตร์  ซึ่วประกอบด้วย  เกณฑ์ คุณภาพ การวัด ตัวชี้วัด การยอมรับ   เป็นต้น

-  ซึ่งมาตราฐานคณิตศาสตร์นั้นยังเป็นจัวบ่งชี้ให้รู้ว่าเรามีคุณภาพอีกด้วย  เช่นมาตราฐานสถานศึกษา  เป็นต้น

-  ความหมายของสสวท
               สสวท. คือ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สสวท.มีหน้าที่หลัก คือ ทำให้การเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ของนักเรียนไทยได้มาตรฐาน ให้ครูสามารถสอนนักเรียนให้เรียนรู้และเข้าใจในเรื่องที่สอนได้ รับผิดชอบระบบการศึกษาทุกระดับครอบคลุมทั่วประเทศ พร้อมทั้งยังสามารถเรียนรู้ผ่านการออนไลน์ โดยมีห้องสมุดออนไลน์ มีความรู้ทั้งหมดที่เกี่ยวกับการเรียนการสอน

-  กรอบของคณิตศาสตร์  สสวท ได้จัดให้มีการเปิดตัวกรอบมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ปฐมวัยในทางวิทยาศาสตร์เป็นที่ยอมรับว่า การเรียนรู้ในช่วงชีวิต  0-6 ขวบ นั้นจะเป็นตัวกำหนดทุกสิ่งทุกอย่าง มนุษย์แต่ละคนจะโตขึ้นเป็นคนอย่างไรขึ้นอยู่กับช่วงวัยนี้ เพราะเซลล์สมองจะมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว เราจึงให้ความสำคัญต่อเด็กในวัยนี้  “คุณภาพของครูเป็นเรื่องที่สำคัญ ครูต้องมีจิตวิญญาณของความเป็นครู  ต้องมีโอกาสก้าวหน้า และมีแรงจูงใจให้แก่ครู  หลักสูตรต้องเปลี่ยนแปลง คือ 70-30  เปอร์เซ็นต์ระหว่างเล่นและเรียน  เด็กปฐมวัยต้องเน้นที่การเล่นมากกว่า ที่สำคัญการปฏิรูปการศึกษาไม่ใช่หน้าที่ของกระทรวง ศึกษาธิการอย่างเดียว แต่เป็นหน้าที่ร่วมกันของผู้ปกครอง และทุกส่วนในสังคม”


-  พูดกล่าวถึง พัฒนาการและการประเมินเพื่อให้จัดกิจกรรมต่าง ๆ ได้สอดคล้องได้อย่างไร 


 *  พอสอนได้สักพักมีโทรศัพท์เข้า อาจารย์มีประชุมด่วนจึงทำให้ต้องยกเลิกการสอน โดยอาจารย์ได้ให้การบ้านไว้และอธิบายให้เข้าใจอย่างละเอียด 


      - การบ้านคือ ให้ไปตัดกระดาษขนาด 2 4 6 (3 ขนาด เพื่อทำการทำกิจกรรมในคาบต่อไป) ซึ่งตอนนี้ได้ยกเลิกแล้ว เพราะอาจารย์ให้ทำงานอันเก่า(วาดรูปสื่อ) ให้เสร็จก่อนโดยส่งทางเมล์ให้อาจารย์เพื่อความสะดวก และประหยัดเวลา




วันศุกร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 6

ประจำวันศุกร์ ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2555
การเรียนการสอนในวันนี้

-  อันดับแรก อาจารย์ได้พูดถึงเรื่องกล่องอะไรก็ได้ ขนาดใดก็ได้ที่ไม่ใหญ่จนเกินไปที่สั่งเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว โดยที่ระหว่างนั้นก็ได้เช็คชื่อไปด้วยโดยให้นักศึกษาส่งกระดาษเซ็นชื่อและเซ็นด้วยตนเอง

- พูดถึงกล่องว่าสามารถเป็นเครื่องมือในการทำอะไรได้บ้าง  เช่นการวัด ขนาด เครื่องมือในการวัด

- ต่อมาอาจารย์ได้โยงไปถึงเรื่องเครื่องมือในการวัดโดยใช้กล่อง ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ไม่แน่นอน เครื่องมือที่ไม่แน่นอนเช่น  ฝ่ามือ แขน เป็นต้น ส่วนเครื่องมือวั ด(เครื่องมือมาตราฐาน) ที่แน่นอนได้แก่ ไม้บรรทัด  ตลับเมตร เป็นต้น

- ได้ยกตัวอย่างถึงเรื่องการวัดหาค่าจารูปภาพ ของ อ.เยาวพา  และการเรียงลำดับ

บรรยากาศภายในห้อง
- สนุกสนาม เพราะเพื่อนต่างมีกล่องขนาดต่างๆของตัวเองมาและอยากรู้ว่าอาจารย์จะให้นำกล่องมาทำอะไร

กิจกรรมภายในห้อง

- อาจารย์ให้จับกลุ่ม 11 คน  แล้วนำกล่องของแต่ละคนมาช่วยกันประกอบเป็นรูปอะไรก็ได้
        -  กลุ่มของฉันอาจารย์ให้โจทย์ว่าให้คุยกันได้ ปรึกษากันได้ โดยมี อีก 2 กลุ่มที่ ห้ามคุยกัน แล้ววาง                                   กล่องทีละคน  และอีกกลุ่มนึงคุยกันได้แค่ครั้งเดียวหลังจากนั้นก็ห้ามพูดแล้วต่างคนต่างทำ

- หลังจากประกอบเป็นรูปเป็นร่างเรียนร้อยแล้ว ก็นำไปวางที่โต๊ะอาจารย์ โดยกลุ่มของเราตั้งชื่อผลงานว่า " หุ่นยนต์ 2012 "
   มีภาพประกอบ ดังนี้ค่ะ


โชว์ผลงาน

ถ่านรูปบรรยากาศตอนทำเสร็จ






ร่วมมือกันด้วยความจริงจังและตั้งใจ


ใกล้จะเสร็จแล้ว


เสร็จแล้ว (ซ้ายมือ) นี่คือผลงาน หุ่นยนต์ 2012



และต่อมาอาจารย์ได้พูดถึงเรื่องการประดิษฐ์สื่อ โดยใช้วัสดุเหลือใช้ต่าง ๆ มีประโยชน์อย่างไร และสามารถใช้ทำอะไรได้บ้าง 


วันพฤหัสบดีที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 4

ประจำวัน ศุกร์ ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

(  ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจาก มีกีฬาสีของทางคณะศึกษาศาสตร์ )

วันศุกร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 5

ประจำวันศุกร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การเรียนการสอนในวันนี้ 

-  อาจารย์ทำการเช็คชื่อนักศึกษาที่มาเรียนในวันนี้เป็นอันดับแรก 

-  อาจารย์ได้พูดถึงขอบข่ายของคณิตศาสตร์   โดย ( นิตยา  ประพฤติกิจ )  ว่ามีอะไรบ้างโดยบอกความหมาย และยกตัวอย่างให้เห็นภาพอย่างละเอียด เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจมากยิ่งขึ้น

-  อาจารย์ได้พูดถึงกิจกรรมต่าง ๆ ในคณะว่ามีความสำคัญอย่างไร ควรเข้าหรือไม่เข้าเพราะเหตุใด ซึ่งทำให้นักศึกษาเล็งเห็นถึงความสำคัญของกิจกรรมภายในมหาวิทยาลัยมากยิ่งขึ้น ) 

และต่อมา อาจารย์ก็ได้พูดถึงเรื่องคณิตศาสตร์แนวใหม่ที่ครูควรศึกษา โดย ( เยาวพา เดชะคุปต์  )

โดยเน้อหาประกอบด้ว
1. การจัดกลุ่ม 
2. การฝึกหัด 
3. ระบบจำนวน
4. ความสัมพันธ์ระหว่างเซตต่าง ๆ 
5. คุณสมบุติของคณิตศาสตร์ 
6. ลำดับสำคัญ และ ประโยชน์ของคณิตสาสตร์ 
7. การวัด (เพื่อหาปริมาตร) 
8. รูปทรงเรขาคณิต (สิ้งของที่มีมิติต่าง ๆ จากสิ่งรอบ ๆ ตัว ) 
9. สถิติและกร๊าฟ  (การนำเสนอข้อมูล การทำแผนภูมิ ) 

และ ( นิตยา  ประพฤติกิจ )

1. การนับ 
2. ตัวเลข 
3. การจับคู่ 
4. การจัดประเภท
5. การเปรียบเทียบ
6. การจัดลำดับ
7. รูปทรงและเนื้อที่
8. การวัด
9 .เซต
10.เศษส่วน
11.การทำตามแบบหรือลวดลาย
12.การอนุรักษ์



โดย อ. เยาวพา เดชะคุปต์  และ อ. นิตยา ประพฤติกิจ  มีข้อที่แตกต่างกันคือ ของอาจารย์ เยาวพา จะมีกร๊าฟและสถิติขึ้นมา .. ซึ่งเนื้อเรื่องอื่นๆ ก็จะคล้าย ๆ หรือมีความหมายในทำนองเดียวกัน

งานที่ได้รับมอบหมาย

-  วันนี้ อาจารย์ให้จับคู่ 2 คน โดย ให้คิดหัวข้อที่จะทำ โดยอ้างอิงจาก 12 ข้อ ของ อ.นิตยา ประพฤติกิจ

กลุ่ม ของดิฉัน ทำเรื่อง เสื้อ (ชนิดต่าง ๆ )


สิ่งที่ต้องนำมาในคาบต่อไป

- หากล่องที่มีรูปทรง ขนาดเล็ก - ปานกลาง  คนละ 1 ชิ้น  (ใช้ในการสอนในคาบหน้า )

วันเสาร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนครั้งที่ 3



วันที่16 พฤศจิกายน 2555


การเรียนการสอนในวันนี้ 

- อันดับแรกอาจารย์เข้าห้องมาถึงอาจารย์บอกให้เพื่อนจับกลุ่ม 
กลุ่มละ 3 คน โดยหันเก้าอี้เข้าหากัน

- เมื่อหันเก้าอี้เข้าหากันแล้ว อาจารย์บอกว่าให้ 1 คน เปลี่ยนกลุ่มโดยไปกลุ่มไหนก็ได้ที่เราไม่สนิดเพื่อจะได้ลองทำงานกับเพื่อนคนอื่นที่ไม่ใช่กลุ่มเราเองดูบ้าง ซึ่งฉันคิดว่าเป็นเรื่องที่ดีเพราะทำให้เราได้รู้จักเพื่อน ๆ มากขึ้น :) ต่อจากนั้นอาจารย์ให้ศึกษาดูว่าการบ้านที่ทำมามาของแต่ละคน เป็นอย่างไร มีเหมือนหรือคล้ายกันบ้างไหม โดยอาจารย์ให้ เอาการบ้านที่ แต่ละคนทำภายในกลุ่มมาแชร์กัน แล้วนำของแต่ละคนมาเขียนใหม่ เป็นหนึ่งเดียว โดยใช้โจทย์และหัวข้อเดิม

- หลังจากนั้นอาจารย์จะถามทีละกลุ่ม โดยคำถามมีดังนี้ 
ชื่อหนังสือคณิตศาสตร์
ความหมายของคณิตศาสตร์
จุดมุ่งหมายของคณิตศาสตร์
การสอนหรือการจัดประสบการณ์ขอบข่าย/ขอบเขตของวิชาคณิตศาสตร์ 
หลักการสอนคณิตศาสตร์    
 ว่าแต่ละกลุ่มเขียนว่าอย่างไรกันบ้าง โดยคำถามแล้วแต่อาจารย์ว่าจะให้ตอบในข้อไหน เมื่อทำเส็จแล้วนำการบ้านที่เราเสร็จแล้วไปส่งอาจารย์ด้วย แล้วอาจารย์จะเช็ดอีกที 

- อาจารยืได้พูดถึงเรื่อง การซ่อมกิจกรรม บุคลิกภาพ สำหรับคนใดที่ยังไม่ได้เข้ากิจกรรมให้ไปชดเชย ในวันพูะ ที่ 28 พ.ศ. 2555 เวลา บ่ายโมงตรงเป็นต้นไป 


บรรยากาศภายในห้องเรียน 

- วันนี้สนุกสนานมากในการเรียนเพราะมีการจับกลุ่มได้คุยกับเพื่อนใหม่ ๆ ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันทำงานร่วมกันอย่างมีความสุข

- อาจจะมีเสียงดังเล็กน้อยเพราะเนื่องจากทุกคนต้องเลื่อนโต๊ะเพื่อใช้ในการนั่งจับกลุ่มของตนเอง 

- อาจารย์มีท่าทางคอยเดินดูแต่ละกลุ่มเสมอเผื่อว่ามี น.ศ คนใด สงสัยสามารถถามอาจารย์ได้ทันที และคอยให้คำปรึกษาโดยการสังเกตุทุกๆ กลุ่มอย่างสม่ำเสมอโดยทั่วถึงกัน

อาจารย์คอยแนะนำในการใช้คำพูดเพื่อสื่อความหมายที่ดีและชัดเจนมากขึ้น ฝึกการทำงานอย่างฉลาด และรอบคอบ ! 

รายชื่อกลุ่มของฉันในวันนี้ 
1. นางสาว ชนนิภา วัฒนภาเกษม
2. นางสาว ปิยะภรณ์ วรรณวงษ์
3.นางสาว นิษธิดา นิลมาลี
( พวกเราช่วยกันเต็มที่ค่ะ ) :)









- ก่อนออกจากห้องเรียน ฉันได้ขออนุญาติอาจารย์ลิงค์บล็อคเพิ่ม ด้วยค่ะและฉันก็เช็คชื่อ พร้อมกลับบ้านแล้วค่ะเพราะเย็นมากแล้ว



วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนครั้งที่ 2

วัน ที่ 9 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

* ในวันนี้หนูไม่ได้มาเรียน เนื่องปวดท้องจึงพักอยู่บ้าน ในการทำบทความครั้งที่ 2 นี้ หนูจึงได้ไป copy บทความ ของ กมลวรรณ ศรีสำราญ มาค่ะ เพราะวันนั้นหนูไม่ได้เรียน TT *

การเรียน การสอน

-เมื่อเดินเข้าห้องเรียนมาอาจารย์ได้เข้ามาก่อนเเล้ว อาจารย์ได้ให้เพื่อนมาเพิ่มลิ้งค์บล็อกเพื่ิอน


    สิ่งที่เด็กเรียนรู้ในห้องเรียนเด็กจะใช้เหตุผลเชื่อมโยงประสบการณ์


ส่วนมากเด็กจะใช้เหตุผลมาก กว่าประสบการณ์
ถ้าเด็กไม่มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเด็กจะยังไมได้เรียนรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงได้ เท่าที่ควร
      

  อาจารย์สั่งการบ้าน

-อาจารย็ก็ได้เเจกกระดาษคนละเเผ่นและอาจารย์ให้เขียน คำว่าคณิตศาสตร์ และการจัดประสบการณ์ เ็กปฐมวัยเป็น ๓ภาษาอังกฤษ


2.ให้ไปสำรวจว่าคณตสาสตร์หมายถึงอะไร มี่ชื่อ  ชื่อเรื่อง ชื่อผู้แต่ง เลขที่หน้า ปี/พ.ศ.

เลขหมู่



3.ให้หาจุดมุ่งหมาย และเป้าหมาย วัสถุประสงค์ การเรียนการสอนคณิตศาสตร์



4. การสอนการัดประสบการณ์ หรือทฤษฏีการสอน การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์



5. ขอบค่าย หรือขอบเขต ของคณิตศาสตร์มีอะไรบเาง



5. หลักการสอนคณิตศาสตร์

อาจารย์ให้ไปหาแล้วส่งอาทิตย์หน้า



 พัฒนาการเด็ก 

สิ่งที่บ่งบอกถึงพัฒนาการเด็กได้ีดีการเรียนคณิตศาสตร์
ร์

คณิตศาสตร์ยังเป็นเครื่องมือในการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและศาสตร์อื่นๆ เด็กปฐมวัย เป็นวัยเริ่มต้นแห่งการเรียนรู้ คณิตศาสตร์สามารถพัฒนาเสริมสร้างให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจในธรรมชาติและสิ่งต่างๆ รอบตัว



 คณิตศาสตร์มีความสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาความคิด ทำให้มนุษย์คิดอย่างมีเหตุผล เป็นระบบ มีแบบแผน ตลอดจนมีการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และสามารถวิเคราะห์ปัญหาหรือสถานการณ์ได้อย่างรอบคอบ ช่วยให้คาดการณ์วางแผน แก้ปัญหา และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสมนอกจากนั้นคณิตศาสตร์ยังเป็นเครื่องมือในการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและศาสตร์อื่นๆ







             เด็กปฐมวัย เป็นวัยเริ่มต้นแห่งการเรียนรู้ มีความอยากรู้อยากเห็น ช่างสังเกต ชอบเล่น และสำรวจสิ่งต่างๆ รอบตัว คณิตศาสตร์สามารถพัฒนาเสริมสร้างให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจในธรรมชาติและสิ่งต่างๆ รอบตัว การที่เด็กมีความรู้ความเข้าใจ มีทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ และมีเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์ ไม่เพียงส่งผลให้เด็กประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์เท่านั้น แต่จะส่งผลต่อการเรียนรู้ในศาสตร์อื่น ๆ คณิตศาสตร์จึงมีบทบาทสำคัญทั้งในการเรียนรู้และมีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต             สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ได้พัฒนากรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 ตั้งแต่ปี 2551 โดยคณะกรรมการซึ่งประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการศึกษา ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน ได้ร่วมกำหนดมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด และสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย อายุ 3 – 5 ปี เพื่อเป็นแนวทางให้สถานศึกษาหรือสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยทุกสังกัดนำไปใช้จัดการศึกษาด้านคณิตศาสตร์ ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์

             การเรียนรู้คณิตศาสตร์ระดับปฐมวัย มุ่งหวังให้เด็กทุกคนได้เตรียมความพร้อมด้านต่าง ทางคณิตศาสตร์อันเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา โดยกำหนดสาระหลักที่จำเป็นสำหรับเด็ก ได้แก่ จำนวนและการดำเนินการ จำนวน การรวมกลุ่ม และการแยกกลุ่ม การวัด ความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงินและเวลา เรขาคณิต ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง รูปเรขาคณิตสามมิติและรูปเรขาคณิตสองมิติ พีชคณิต แบบรูปและความสัมพันธ์ การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น การเก็บรวบรวมข้อมูลและการนำเสนอ ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ การแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ และมีความคิดสร้างสรรค์









สาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย


             มาตรฐานการเรียนรู้ เป็นเป้าหมายสำคัญในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับเด็ก รวมทั้งเป็นแนวทางในการกำกับ ตรวจสอบ และประเมินผล มาตรฐานการเรียนรู้จัดให้อยู่ภายใต้สาระหลัก ดังนี้            

 สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ มาตรฐาน ค.ป. 1.1 : เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวน และการใช้จำนวนในชีวิตจริง             

  สาระที่ 2 : การวัด มาตรฐาน ค.ป. 2.1 : เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด ความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงินและเวลา            

 สาระที่ 3 : เรขาคณิต มาตรฐาน ค.ป. 3.1 : รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทางมาตรฐาน ค.ป. 3.2 : รู้จัก จำแนกรูปเรขาคณิต และเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการจัดกระทำ             

 สาระที่ 4 : พีชคณิต มาตรฐาน ค.ป. 4.1 : เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์             

 สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น มาตรฐาน ค.ป. 5.1 : รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อม และนำเสนอ           

  สาระที่ 6 : ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ครูควรคอยสอดแทรกทักษะและกระบวนกาทางคณิตศาสตร์ตามความเหมาะสมกับระดับอายุ

             นางเชอรี่ อยู่ดี หัวหน้าสาขาคณิตศาสตร์ประถมศึกษา สสวท. ประธานคณะกรรมการกำหนดแนวทางการจัดทำคู่มือกรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 ได้กล่าวถึงปัจจัยสำคัญของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้คณิตศาสตร์ว่า “ปัจจัยสำคัญที่ทำให้การจัดประสบการณ์เรียนรู้คณิตศาสตร์บรรลุมาตรฐานการเรียนรู้มี 4 ประการ ได้แก่ ผู้บริหาร ซึ่งมีบทบาทในการจัดสรรงบประมาณ จัดหาสื่ออุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้เพียงพอ การบริหารประสานงาน วางแผนกำกับดูแล สร้างขวัญกำลังใจครูผู้สอน ส่งเสริมความสามารถของเด็กทุกด้าน วางนโยบายการนิเทศภายในให้ชัดเจน และประเมินผลการปฏิบัติงานของครูผู้สอนรอบด้านอย่างยุติธรรม ครูผู้สอน ซึ่งควรจะมีการพัฒนาความรู้ จัดกิจกรรมหลากหลาย มีจรรยาบรรณในวิชาชีพครู เด็ก ต้องมีความสนใจใฝ่รู้ ช่างสังเกตซักถาม คาดเดา อธิบายเหตุผลของตนเอง สภาพแวดล้อม หรือความพร้อมของสถานศึกษา ห้องเรียน นอกจาก44 ปัจจัยดังกล่าวแล้วยังต้องการบทบาทการสนับสนุนจากผู้ปกครองด้วย”









คุณภาพทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ในแต่ละช่วงอายุ มีความซับซ้อนแตกต่างกัน ดังนี้             

     คุณภาพทางคณิตศาสตร์ของเด็กอายุ 3 ปี ควรมีความสามารถดังนี้ 1) มีความรู้ ความเข้าใจและมีพัฒนาการด้านความรู้สึกเชิงจำนวน เกี่ยวกับจำนวนนับไม่เกินห้า และเข้าใจเกี่ยวกับการรวมกลุ่ม และการแยกกลุ่ม 2) มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร และเวลา สามารถเปรียบเทียบ และใช้คำเกี่ยวกับการเปรียบเทียบความยาว น้ำหนัก และปริมาตร และเวลา สามารถเปรียบเทียบ และใช้คำเกี่ยวกับการเปรียบเทียบความยาว น้ำหนัก และปริมาตร สามารถบอกกิจกรรมหรือเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันที่เกิดขึ้นในช่วงเวลากลางวันและกลางคืน 3) มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับตำแหน่ง สามารถใช้คำบอกตำแหน่งของสิ่งต่าง ๆรู้จักทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากจากสิ่งต่างๆ ในชีวิตประจำวัน และใช้ทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก สร้างสรรค์งานศิลปะ            

 คุณภาพทางคณิตศาสตร์ของเด็กอายุ 4 ปี ควรมีความสามารถดังนี้ 1) มีความรู้ ความเข้าใจและมีพัฒนาการด้านความรู้สึกเชิงจำนวน เกี่ยวกับจำนวนนับไม่เกินสิบ และเข้าใจเกี่ยวกับการรวมกลุ่ม และการแยกกลุ่ม 2) มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร และเวลา สามารถเรียงลำดับความยาวน้ำหนัก ปริมาตร และเวลา สามารถบอกกิจกรรมหรือเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันที่เกิดขึ้นในช่วงเวลา
ตำแหน่งและแสดงของสิ่งต่าง ๆ สามารถจำแนกทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก และใช้ทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กรวย ทรงกระบอกสร้างสรรค์งานศิลปะ 4) มีความรู้ ความเข้าใจ แบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง ขนาด สี ที่สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง สามารถทำตามแบบรูปที่กำหนดเย็น และเรียงลำดับกิจกรรม หรือเหตุพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง สามารถทำตามแบบรูปที่กำหนดเย็น และเรียงลำดับกิจกรรม หรือเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันตามช่วงเวลา 3) มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับตำแหน่ง สามารถใช้คำบอกตำแหน่งและแสดงของสิ่งต่าง ๆ สามารถจำแนกทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก และใช้ทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กรวย ทรงกระบอาใจ แบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง ขนาที่สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง สามารถทำตามแบบรูปที่กำหนด             

คุณภาพทางคณิตศาสตร์ของเด็กอายุ 5 ปี ควรมีความสามารถดังนี้ 1) มีความรู้ ความเข้าใจและมีพัฒนาการด้านความรู้สึกเชิงจำนวน เกี่ยวกับจำนวนนับไม่เกินยี่สิบ และเข้าใจเกี่ยวกับการรวมกลุ่ม และการแยกกลุ่ม 2) มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เวลา และเงิน สามารถวัดและบอกความยาว น้ำหนัก และปริมาตร โดยใช้เครื่องมือและหน่วยที่ไม่ใช่หน่วยมาตรฐาน สามารถเรียงลำดับเรียงลำดับชื่อวันในหนึ่งสัปดาห์และบอกกิจกรรมหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เมื่อวานนี้ วันนี้ พรุ่งนี้ เข้าใจเกี่ยวกับเงิน สามารถบอกชนิดและค่าของเงินเหรียญและธนบัตร 3) มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับตำแหน่ง ทิศทางและระยะทาง สามารถใช้คำบอกตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง และแสดงตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทางของสิ่งต่าง ๆ สามารถจำแนกทรงกลมทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กรวย ทรงกระบอก และจำแนกรูปวงกลม รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม สามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตสองมิติที่เกิดจากการตัด ต่อเติม พับ หรือคลี่ และสร้างสรรค์งานศิลปะจากรูปเรขาคณิตสามมิติและสองมิติ 4) มีความรู้ ความเข้าใจ แบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง ขนาด สี ที่สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่งสามารถต่อแบบรูปที่กำหนดและสร้างเพิ่มเติม 5) มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและการนำเสนอข้อมูลในรูปแผนภูมิอย่างง่าย             การจัดประสบการณ์การเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเด็ก ต้องคำนึงถึงขั้นตอนการเรียนรู้ของเด็ก ได้แก่ ทบทวบความรู้พื้นฐาน สอนเนื้อหาใหม่ สรุปสาระสำคัญทางคณิตศาสตร์ ฝึกทักษะหรือฝึกปฏิบัติ นำความรู้ไปใช้ วัดและประเมินผล ตัวอย่างรูปแบบของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้คณิตศาสตร์ระดับปฐมวัยที่น่าสนใจ อาทิ การเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ การเรียนรู้จากการใช้คำถาม เป็นต้น








             “ครูผู้สอนจำเป็นต้องศึกษาและทำความเข้าใจ เกี่ยวกับมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้และสาระสำคัญทางคณิตศาสตร์ ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย ครูต้องยึดเด็กเป็นสำคัญ กล่าวคือ การเรียนรู้โดยให้เด็กมีส่วนร่วมรู้ ร่วมคิด ร่วมทำ ควรคำนึงถึงความสนใจและความแตกต่างของเด็กแต่ละคน การจัดประสบการณ์การเรียนรู้จึงควรหลากหลาย อาจจัดให้ทำกิจกรรมร่วมกันทั้งชั้น ทำในกลุ่มย่อย ทำเป็นรายบุคคล สถานที่ควรมีทั้งในห้องเรียน นอกห้องเรียน บริเวณโรงเรียน และศึกษาจากแหล่งเรียนรู้ในชุมชนหรือในท้องถิ่น” นางเชอรี่ อยู่ดี กล่าว             นอกจากนั้น เทคนิคการจูงใจให้เด็กๆ สนุกกับการเรียนคณิตศาสตร์อีกอย่าง คือ ให้เด็กได้เรียนรู้และค้นพบสิ่งท้าทาย ด้วยกิจกรรมและเกมที่ช่วยฝึกทักษะคณิตศาสตร์ให้เด็กได้ร่วมสนุกพร้อมสอดแทรกเนื้อหาความรู้เข้าไป            

 ทั้งนี้ สสวท. ได้จัดทำแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย ตามสาระ มาตรฐานและตัวชี้วัด รวมทั้งตัวอย่างกิจกรรมไว้อย่างละเอียดและชัดเจน เพื่อให้ครูและผู้เกี่ยวข้องใช้เป็นแนวทางจัดประสบการณ์การเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสอดคล้องกับกรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 และสามารถเชื่อมต่อกับสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

วันเสาร์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนครั้งที่ 1

2/11/2555

วันนี้เป็นวันแรกที่ได้เรียน วิชานี้ ( คณิตสำหรับเด็กปฐมวัย ) บรรยากาศภายในห้องเรียบง่ายเป็นกันเอง เพื่อนมาเรียนกันอาจจะยังไม่มากนัก อากาศภายในห้องหนาว เพื่อนเอาผ้าพันตอมาห่มกันใหญ่เลย : )

การเรียนการสอนในวันนี้ 

-  อาจารย์เดินเข้ามาในห้องพร้อมทักทา่ยนักศึกษาทุกคน จากนั้นอาจารย์ได้นำกระดาษมาแจก และได้พูดให้หัวข้อว่า คณิตสำหรับเด็กปฐมวัย ' คืออะไร ' ในมุมมองความคิดของเรา โดยให้แบ่งเป็น 2 ประโยค  และต่อมา หัวข้อที่ 2 ที่อาจารย์ให้ก็คือ " ความคาดหวังในรายวิชานี้ " เขียนบรรยายตามความเข้าใจและต้องการให้เป็ฯเหมือนเดิม  เมื่อเสร็จแล้วได้ส่งคืนให้อาจารย์ และอาจารย์ได้บอกไปอีกว่าเดี๋ยวจะนำไปอ่านและพิจารณาดู 

-    เมื่อเขียนเสร็จ อาจารย์ก็ได้อธิบายรายวิชาที่จะต้องเรียนว่าจะต้องเรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง โดยที่ทำเป็น My mapping ให้ดู และได้เชื่อมโยงไปถึงแนวคิดและทฤษฏีของบรูเนอร์ เพียเจท์ พูดถึงลำดับขั้นพัฒนาการของเด็ก การพัฒฯาสติปัญญาทีเ่ป็ฯขั้นเป็นตอน

-   หลังจากนั้นอาจารย์ก็ได้พูดถึงข้อตกลงในการเรียน การแต่งกาย ว่าควรแต่งแบบไหนให้ถูกระเบียบ เช่น รองเท้าควรเป็ฯคัชชูสีดำ เรียบร้อย กระโปรงต้องไม่สั้น และมีสมุดจดทุกครั้งที่เข้าเรียน ในเรื่องการแต่งกายนั้นอาจารย์บอกว่าในเทอมนี้ถ้าใครแต่งตัวหรือใส่รองเท้าผิดระเบียบ อาจารย์เห็นจะไม่พูดแล้วและจะหักคะแนนทันที .. >0<

-   อาจารย์ได้พูดถึงการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ของเพียเจท์ ในขั้นประสาทสัมผัส พร้อมอธิบายคร่าวพอเข้าใจ โดยการใช่เหตุผล ความต้องต้องการของเด็ก 


-   ได้ขึ้นหัวข้อการเรียนรู้ การเอาตัวรอด การเกิดความรู้ใหม่ ของเด็กปฐมวัย 

-  สุดท้ายอาจารย์ได้อธิบายเรื่องบล็อคที่ต้องทำ ว่าในรายวิชานี้ต้องทำบล็อคเหมือนเดิม โดยใช้บล็อคเดิม เพียงแต่ สร้างบล็อคในบล็อคเดิมใหม่ โดยตั้งชื่อในรานวิชาใหม่คือ คณิตสำหรับเด็กปฐมวัย  
บอกรายละเอียดเพิ่มเติมเพื่อทำให้คะแนนดีขึ้น ว่าทำอย่างไรถึงจะได้คะแนนที่ดีขึ้นกว่าเดิม 



ตัวอย่างสื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย










ตัวอย่าง กิจกรรมที่เกี่ยวกับประสามสัมผัสทั้ง 5